วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทความที่ 2 ตอบคำถาม

ข้อที่ 1 เหตุใดระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Dss) จึงมีความสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (EIS)
ตอบ เพราะว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Dss) เป็นระบบข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยแก้ปัญหาสำหรับ
ปัญหาแบบกิ่งโครงสร้างลักษณะพิเศษของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Dss) คือสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ โดยเริ่มแรกจะกำหนดข้อจำกัดและลักษณะของสถานการณ์นั้น ๆ จากนั้นก็จะใช้ประสบการณ์และความรู้สึกเข้ามาพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในการปรับปรุงแก้ไขระบบ ซึ่งระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Dss) สามารถตอบการปรับเปลี่ยนโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีความยืดหยุ่นเพียงที่จะนำเอาความคิดเห็นส่วนตัวเข้ามาร่วมพิจารณากับโปรแกรมทางคณิตศาสตร์ได้ และมีความสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเป็นอย่างมาก
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะสำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS
ข้อที่ 2 การกำหนดเป้าหมายหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ ขององค์กรส่วนใหญ่ใช้ระบบสารสนเทศประเภทใดบ้าง
ใช้เหตุผลประกอบ
ตอบ 1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ : โดยจะต้องออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การเหล่านั้น ระบบสารสนเทศที่จำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆ หลายระบบ
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน : จะเป็นระบบที่จำแนกตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน : จะถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ
เหตุผลประกอบ
เหตุนี้เป้าหมายการเชื่อมโยง BSC กับกลยุทธ์องค์กร คือ การมุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศโดยสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าด้วยการประเมินความแตกต่างระหว่างเป้าหมายกับผลลัพธ์ (Performance Gap) และจำแนกสาเหตุหลักของปัญหาเพื่อดำเนินการแก้ปัญหา ส่วนองค์ประกอบหลักที่สนับสนุนสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย
1)เสี่ยงจากลูกค้า (Voice of the Customer) โดยศึกษาความต้องการของคู่ค้าประกอบด้วย พนักงาน ลูกค้า ผู้ส่งมอบ และการติดตามข้อมูลจากคู่แข่งขัน เพื่อระบุปัจจัยที่สามารถตอบสนองให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุดและลำดับความสำคัญตามความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ยังใช้ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์สำหรับจำแนกส่วนของลูกค้า (Customer Segments) เพื่อกำหนดปัจจัยทางคุณภาพที่สามารถตอบสนองให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มเกิดความพึงพอใจตามลำดับความสำคัญ (Segment's Priorities) ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ เช่น การกระจายหน้าที่ทางคุณภาพ (Quality Function Deployment) หรือ QFD การเทียบเคียง (Benchmarking) การสำรวจ การสัมภาษณ์ และข้อมูลประวัติที่จัดเก็บ (Historical Data)
2)ความเป็นเลิศทางกระบวนการ (Process Excellence) โดยมุ่งประเมินความสามารถกระบวนการ (Process capability) และความพึงพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นสารสนเทศสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการ
3)การบริหารสมรรถนะ (Performance Management) โดยติดตามข้อมูลผลลัพธ์เทียบกับระดับเป้าหมาย เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับปรับปรุงกระบวนการ หรือ “Know What You Aim To Achieve” ประกอบด้วยข้อมูลหลัก เช่น วัตถุประสงค์กลยุทธ์ (Strategic Objective), แผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map), ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator)
สำหรับกระบวนการเชื่อมโยง BSC กับแผนปฏิบัติการประกอบด้วย
· การแจงประเด็นทางกลยุทธ์(Strategic themes) สู่วัตถุประสงค์หลัก(BSC)
· กำหนดมาตรวัด/เป้าหมาย(Metrics/Targets)
· การประเมินวัดผลเทียบเคียงกับเป้าหมาย
·ระบุผลต่างทางสมรรถนะ(Performance gap) เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุง
4)การคัดเลือกโครงการ (Project/Initiative Selection) โดยใช้ข้อมูลจากช่วงวิเคราะห์ผลต่างสมรรถนะเพื่อกำหนดรายละเอียดโครงการปรับปรุงและลำดับความสำคัญแต่ละโครงการ (Prioritizes Project) เทียบกับวัตถุประสงค์หลักทางกลยุทธ์
5)การดำเนินโครงการปรับปรุง (Project and Initiative Execution) เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวสินค้าหรือกระบวนการธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้วยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์หาสาเหตุหลัก (Root Causes) เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิผล
ข้อที่ 3 ดัชนีชี้วัดผลประกอบการ Key Perfirmance Indicator:KPI) คืออะไรและเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงอย่างไร
ตอบ โดยทั่วไปการพัฒนาดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator) หรือ KPI มักใช้รายงานข้อมูลที่จัดเก็บในระบบสารสนเทศเพื่อกำหนดมาตรวัดความสำเร็จ ดังนั้นการจัดทำ KPI นอกจากถูกใช้เป็นเครื่องมือบริหารทรัพยากรที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจแล้วยังถูกใช้สื่อสารกลยุทธ์ระดับองค์กรเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Corporate Goals and Objectives) ดังนั้นก่อนเริ่มจัดทำ KPI จึงต้องศึกษาความสำคัญของตัวชี้วัด โดยเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรต้องเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ที่สนับสนุนให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน(Competitive Advantage) ซึ่งปัจจัยความได้เปรียบในการแข่งขันได้ครอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ เช่น การเพิ่มผลิตภาพ การพัฒนาทักษะแรงงาน การลดปัจจัยความเสี่ยง การให้บริการและความสามารถหลักขององค์กร (Core Competencies) ที่ยากต่อการลอกเลียนแบบ (Hard-to-Duplicate) สำหรับการกำหนดมาตรวัดเพื่อรายงานผลสามารถจำแนกได้เป็น
1.ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator) เป็นมาตรวัดสำหรับติดตามจำแนกขอบเขตปัญหาและระดับความสำเร็จหรือประสิทธิผลจากการดำเนินงาน
2.รายงานตามสายงาน (Functional Report) เป็นรายงานผลการปฏิบัติงานตามสายงานประจำวันเพื่อใช้ติดตามความสำเร็จที่ดำเนินในแต่ละฝ่ายงานที่รับผิดชอบ
3.รายงานพิเศษ (Exception Report) เป็นรายงานติดตามผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎทางธุรกิจ (Business Rule)
ส่วนระบบรายงานผลประจำวัน (Routine Reporting) ได้แสดงดัชนีชี้วัดสำคัญและข้อมูลแสดงแนวโน้มการปฏิบัติงานด้วยกราฟ เรียกว่า Visual Presentation เพื่อใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเป้าหมายกับผลลัพธ์ ทำให้วิศวกร หัวหน้าสายงานผลิต และผู้จัดการฝ่ายบำรุงรักษา ประหยัดเวลาสำหรับการวิเคราะห์และสามารถใช้สารสนเทศรับแผนงานได้อย่างรวดเร็ว
สรุป
ปัจจุบันมาตรวัดผลการดำเนินงานได้มีบทบาทสนับสนุนกลยุทธ์องค์กร โดยเฉพาะการติดตามประสิทธิผลและวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อสนับสนุนการกำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ โดยมาตรวัดที่มีประสิทธิผลจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายระดับองค์กรซึ่งมีการเชื่อมโยงทุกระดับตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับกลยุทธ์องค์กร นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลที่มีความแม่นยำและสร้างระบบสารสนเทศสนับสนุนการรายงานผลเพื่อใช้ปรับแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินงาน

อ้างอิง
1.http://www.zigmagirl.exteen.com
2.http://www.kmitnbxmies.com

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทความที่หนึ่ง แนะนำตัวเอง



นางอรัญ สุขศรี
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
ชื่อ นางอรัญ สุขศรี รหัสประตัวนักศึกษา 5122702136

เกิดวันที่ 12 ตุลาคม 2512 อายุ 40 ปี

ที่อยู่ 66 หม่ที่ 8 ตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ 33270

ประวัติการศึกษา

จบระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านโพนยาง อำเภอวังหิน
จังหวัดศรีสะเกษ

จบระดับมัธยมศึกษา ม.3 จากโรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา
ตำบลวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
จังหวัดศรีสะเกษ

จบระดับ ปวช.จากโรงเรียนโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุบลราชธานี

ปัจจุบัน กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ